วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ประเมินผลงาน^+^

ขอให้เพื่อนๆ ครู ญาติผู้มีเกียรติทั้งหลายร่วมประเมินผลงาน

โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน O-O ขอขอบคุณทุกท่าน O-O

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง

1.
http://www.promma.ac.th/chemistry/organic_chemistry/organic069.htm

2.
http://www.lanolinbeautycare.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=359495

3.
http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/biochem_web/Lipid.htm

4.
http://www.research.chula.ac.th/reprints/2550/Jul50/All_heallth50_1.htm

5.
http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=92

6.
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99

7.
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%99

8.
http://www.neutron.rmutphysics.com/science-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=12495&Itemid=5

9.
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99

10.
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81

ข้อสอบ O-Net



คำอธิบาย

ประโยชน์ ของโปรตีนคือ คลายเครียด ลดความดันเลือดสูง รักษาอาการเสื่อมก่อนวัย รักษาโรคจากเชื้อไวรัส เช่น เริม กระทั่งแก้อาการนอนไม่หลับ สำหรับผิวพรรณนั้น กรดอะมิโนจะช่วยทำให้ผิวพรรณดี เต่งตึงขึ้น นอกจากนี้ อะมิโนยังช่วยนการย่อย และทำให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้นด้วย

ความรู้เกี่ยวกับโปรตีน
เริ่ม จากการที่นักวิทยาศาสตร์ชาวดัตซ์ชื่อ เกอร์ริท จัน มุลเดอร์ ค้นพบว่าในพืชและสัตว์มีสารสำคัญมากสำหรับการดำรงชีวิต จึงตั้งชื่อให้ว่า "โปรตีน" ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า "สำคัญที่หนึ่ง"

โปรตีน เป็นส่วนประกอบของร่างกาย ที่มีมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ หากเอาร่างกายมนุษย์ไปตากแห้ง จนน้ำระเหยไปหมด สิ่งที่เหลืออยู่ก็คือ โปรตีนนั่นเอง สำหรับในร่างกายนั้น กล้ามเนื้อจะมีโปรตีนมากเป็น 1 ใน 3 ของโปรตีนทั้งหมด ในกระดูกมีโปรตีนมากเป็น 1 ใน 5 ส่วนผิวหนังมีโปรตีนเป็น 1 ใน 10 ของทั้งหมด

โปรตีนในพืชและสัตว์จะแตกต่างกันตรงที่ พืชสามารถสร้างโปรตีนได้เอง โดยเอาไนไตรเจนจากดิน รวมเข้ากับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ แล้วสร้างเป็นโปรตีน แต่สำหรับสัตว์นั้น หากต้องการโปรตีน มีทางเดียวก็คือต้องกินสัตว์ด้วยกัน หรือไม่ก็กินพืชเอา

ในคนที่ไม่มีความเครียด หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก ควรจะได้รับโปรตีนอย่างน้อยวันละ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก. เช่นถ้าคุณหนัก 60 กก. ก็ควรรับโปรตีนเข้าไป 60 กรัม โดยคิดคร่าวๆเอาว่า เนื้อสัตว์ 1 ขีด (100 กรัม) จะให้โปรตีน 20 กรัม ก็คือควรทานวันละ 3 ขีดเป็นอย่างน้อย และแน่นอนว่า ถ้าคุณออกกำลังกาย หรือว่าเครียดกับการทำงาน คุณก็ต้องทานโปรตีนให้มากกว่านี้อีก

ที่มา: http://www.tuvayanon.net/2protienf.html

ตอบข้อ: 4


คำอธิบาย

คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate )
คาร์โบ ไฮเดรต ( Carbohydrate ) คือ สารอาหารที่ประกอบด้วยธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักได้แก่คาร์บอน ( C ) ไฮโดรเจน ( H ) และออกซิเจน (O) แบ่งออกเป็น แป้ง น้ำตาล และเซลลูโลส
น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีรสหวาน ละลายน้ำได้
น้ำตาลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. น้ำตาลเชิงเดี่ยว ( Mono saccharide )เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล็ก คาร์โบไฮเดรตแต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกัน คือ กลูโคสทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ได้เร็วกว่า ซูโครส แป้งไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ แต่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน ส่วนเซลลูโลสไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายทั้งสองชนิดนี้
อาหารที่นำมาทดสอบจะให้ผล ดังนี้
- เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง วุ้นเส้น กล้วยน้ำว้า ทดสอบโดยใช้สารละลายไอโอดีน ให้สีน้ำเงินแสดงว่า มีแป้ง
- แบะแซ น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด กล้วยน้ำว้า ขนมปัง ( ถ้ามีรสหวาน )
ทดสอบโดยใช้สารละลายเบเนดิกต์ ถ้าเปลี่ยนสีของสารละลายจากฟ้าเป็นเขียว แล้วเหลืองในที่สุด ได้ตะกอนสีแดงส้มแสดงว่ามีน้ำตาล
1.คาร์โบไฮเดรตต่างชนิดกันมีสมบัติต่างกัน
2.การทดสอบน้ำตาลใช้สารละลายเบเนดิกต์ คือ เปลี่ยนสีของสารละลายเบเนดิกต์จากสีฟ้าเป็นสีเขียวแล้วเหลือง
ในที่สุดจะได้ตะกอนสีส้มแดง ตามลำดับ
3.แป้งไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ แต่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีนให้สีน้ำเงิน
4.เซลลูโลสไม่ทำปฏิกิริยาทั้งสารละลายเบเนดิกต์และสารละลายไอโอดีน
5.แป้งสามารถย่อยให้เป็นน้ำตาลได้ โดยการต้มกับกรดไฮโดรคลอริก

ใน การแช่สารละลายของน้ำตาลซูโครสและน้ำแป้ง กับสารละลายเบเนดิกต์ในน้ำเดือด ให้แช่ไว้ภายในเวลาที่กำหนด ถ้าแช่นานเกินไป ซูโครสหรือน้ำแป้งบางส่วนจะถูกเบสในสารละลายเบเนดิกต์ทำให้แตกตัวเป็นน้ำตาล โมเลกุลเดี่ยว และเกิดปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ทำให้เกิดตะกอนสีส้มแดงเล็กน้อย

ที่มา: http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=787

ตอบ: 1


คำอธิบาย
กรด ไขมันอิ่มตัว คือ ไขมันที่เป็นไขมันเต็มตัว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดย สมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ ในร่างกาย พบมากในพวกไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย และไข่แดง

กรดไขมันส่วนมากมีจำนวน C อะตอม C12 - C18 ชนิดที่มีจำนวน C อะตอมน้อยกว่า 12 ได้แก่ กรดบิวทาโนอิก C3H7COOH ที่พบในเนย กรดไขมันไม่ละลายน้ำ กรดไขมันจะมีจุดเดือดและจุด หลอมเหลวสูงขึ้นตามจำนวนคาร์บอนอะตอมที่เพิ่มขึ้น และกรดไขมันอิ่มตัวมีจุดเดือดสูงกว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน ถ้าเป็นกรดไขมันอิ่มตัวมาก จะเป็นไขมัน เช่น กรดลอริก (C12) กรดไมริสติก (C14) กรดปาล์มิติก (C16) กรดสเตียริก (C18)

กรด ไขมันอิ่มตัว คือกรดไขมันที่ไม่มีพันธะคู่ (double bond) หรือ หมู่ฟังก์ชัน (functional group) อื่นๆ ตามสายโซ่เลย คำว่าอิ่มตัวหมายถึง ไฮโดรเจนในที่ซึ่งคาร์บอน (ที่เป็นส่วนของคาร์บอกซิลิก แอซิด-COOHกรุ๊ป) มีไฮโดรเจนเกาะอยู่มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือที่ปลายโอเมก้าจะมี 3 ไฮโดรเจน (CH3-) และแต่ละคาร์บอนในสายโซ่จะมี 2 ไฮโดรเจน (-CH2-)

ตัวอย่างกรดไขมันอิ่มตัวได้แก่:

กรดบิวทิริก: CH3(CH2)2COOH
กรดลอริก (dodecanoic acid) : CH3(CH2)10COOH
กรดไมริสติก (tetradecanoic acid) : CH3(CH2)12COOH
กรดปาลมิติก (hexadecanoic acid) : CH3(CH2)14COOH
กรดสเตียริก (octadecanoic acid) : CH3(CH2)16COOH
กรดอะราชิดิก (eicosanoic acid) : CH3(CH2)18COOH

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7

ตอบข้อ: 4

คำอธิบาย

กรด อะมิโนเป็นหน่วยทางเคมี หรือเป็นรูปแบบเพื่อนำไปสร้างโปรตีน โปรตีนไม่สามารถถูกสร้างหรือคงอยู่ได้โดยปราศจากการรวมตัวกันของกรดอะมิโน ฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจว่ากรดอะมิโนนั้นสำคัญอย่างไร คุณต้องเข้าใจก่อนว่าโปรตีนนั้นสำคัญอย่างไรต่อการดำรงชีวิต

โปรตีน เป็นส่วนประกอบของทุกโครงสร้างและของทุกสิ่งมีชีวิต อวัยวะที่เล็กที่สุดจนถึงใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด จะประกอบด้วยโปรตีนในหลายรูปแบบ โปรตีนจึงเป็นส่วนประกอบทางเคมีที่จำเป็นที่ทำให้เราดำรงชีพอยู่ได้ ในร่างกายมนุษย์ โปรตีนเป็นตัวสร้างกล้ามเนื้อ ,กระดูก ,ผิวหนัง ,เลือด ,เอ็น ,อวัยวะ ,ต่อม ,ผม ,เล็บ ,เอนไซม์ ,ฮอร์โมน ,แอนติบอดี (ภูมิคุ้มกัน) และของเหลวต่างๆในร่างกาย (ยกเว้นน้ำดีและปัสสาวะ)

โปรตีน เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูก เอนไซม์ ฮอร์โมน และยีน ซึ่งนอกจากน้ำแล้ว โปรตีนก็เป็นส่วนประกอบหลักของร่างกายถึง 20% ของน้ำหนักตัว ฉะนั้นโปรตีน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อการมีร่างกายแข็งแรง และมีสุขภาพดี เพราะโปรตีนจะทำหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย ซ่อมแซมและบำรุงรักษา เพื่อยืดอายุเนื้อเยื่อของร่างกาย ส่วนอาหารอื่นๆเพียงทำหน้าที่สนับสนุนเท่านั้น โปรตีนจำเป็นสำหรับการสร้างกระดูก เซลล์เม็ดเลือดแดง และภูมิต้านทานโรค และทำหน้าที่เป็นตัวนำออกซิเจนไปใช้ในร่างกายอีกด้วย

เพื่อให้ได้ โปรตีนที่สมบูรณ์ กรดอะมิโนเฉพาะอย่างจะต้องประกอบตัวกันได้ดี ซึ่งกรดอะมิโน สามารถเรียงต่อกันในรูปแบบต่างๆเป็นโปรตีนได้ถึง 50,000 ชนิดที่แตกต่างกัน และ 20,000 ชนิดเป็นเอนไซม์ โปรตีนแต่ละชนิดเกิดจากการประกอบกันของกรดอะมิโนที่แตกต่างกันจำนวนมาก เชื่อมต่อกันเพื่อนำมาใช้ตามความจำเป็นเฉพาะแบบ ซึ่งไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ และกรดอะมิโน มีส่วนประกอบของไนโตรเจนถึง 16% จึงแตกต่างจากคาร์โบไฮเดรต และไขมันในร่างกาย เมื่อรับประทานอาหารจำพวกโปรตีนเช่นเนื้อสัตว์ ร่างกายต้องย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโนอิสระ หรืออีกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กรดอะมิโนเดี่ยว (Amino Acid) ก่อนดูดซึมเข้าไปในเซลล์เพื่อสร้างโปรตีนที่ต้องการ

โปรตีนประกอบ ด้วยกรดอะมิโน 22 ชนิดในอัตราส่วนที่พอเหมาะพอดี คุณภาพของโปรตีนในอาหารขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของกรดอะมิโนที่มีอยู่ในโปรตีน นั้น อัตราส่วนของกรดอะมิโน ที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายมนุษย์ ได้แก่ น้ำนมมารดา (ให้คุณค่าสูงสุดเต็ม 100) ไข่ไก่ทั้งฟอง (94) นมวัว (85) เนื้อสัตว์ปีกและปลา (อยู่ระหว่าง 86 - 76) กรดอะมิโน 22 ชนิดที่เป็นที่รู้จัก ซึ่งจะประกอบกันเป็นโปรตีนอีกหลายร้อยหลายพันชนิดในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในร่างกายมนุษย์สามารถผลิตกรดอะมิโนได้ 80% ตามที่ร่างกายต้องการได้ โดยเมื่อร่างกายได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นอย่างครบถ้วน ซึ่งเราเรียกกรดอะมิโนที่ร่างกายผลิตเองได้นี้ว่า กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (Nonessential Amino Acids) ซึ่งได้แก่ Alanine ,Arginine ,Aspartic Acid ,Asparagine ,Cystine ,Glutamine ,Glycine ,Proline ,Serine and Tyrosine

ส่วน อีก 20% จะต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ซึ่งเรียกว่า อะมิโนที่จำเป็น (Essential Amino Acids) ซึ่งมีด้วยกัน 9 ชนิด ได้แก่ Histidine ,lsoleucine ,Leucine ,Lysine ,Methionine ,Phenylalanine ,Threonine Tryptophan and Valine กรดอะมิโนเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีอยู่ในอาหารจำพวกเนื้อวัว เนื้อไก่ ปลา นม เนย และไข่ มีคนไม่น้อยคิดว่าการรับประทานอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ก็จะได้โปรตีนอย่างครบ ถ้วน ข้อสันนิษฐานนี้ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะโปรตีนในอาหารจะสูญเสียไปเมื่อผ่านขบวนการต่างๆเช่น การใช้ความร้อน การแช่แข็ง การตากแห้ง การเพิ่มสารเคมีต่างๆ อาหารยิ่งผ่านกรรมวิธีการผลิตมาเท่าไรก็ยิ่งสูญเสียโปรตีนมากเท่านั้น

กรด อะมิโนส่วนใหญ่ (รวมทั้งไกลลีน) สามารถปรากฏในรูปแบบที่เป็นเหมือนภาพในกระจกของอีกอันหนึ่ง ที่เรียกว่า D - และ L - series เป็นกรดอะมิโนในรูปแบบธรรมชาติ ที่พบในสิ่งมีชีวิตต่างๆ ยกเว้น Phenylalanine กระบวนการประกอบของกรดอะมิโนเป็นโปรตีน หรือแยกโปรตีนเป็นกรดอะมิโนเดียวเพื่อถูกนำไปใช้ในร่างกาย เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง เมื่อเราต้องการโปรตีนเอนไซม์มากๆ ร่างกายจะผลิตโปรตีน เอนไซม์ เมื่อเราต้องการสร้างเซลล์ ร่างกายก็จะผลิตโปรตีนเพื่อสร้างเซลล์ ร่างกายจะผลิตโปรตีนต่างๆ ที่ร่างกายต้องการขึ้นมาจากกรดอะมิโนที่จำเป็น และร่างกายจะไม่สามารถผลิตโปรตีนต่างๆออกมาได้ หากขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นตัวใดตัวหนึ่งซึ่งนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพมากมาย

หาก ปราศจากกรดอะมิโน ระบบประสาทที่ทำหน้าที่เสมือนการส่งผ่านสัญญาณส่วนมากไม่สามารถทำหน้าที่ได้ (เป็นสิ่งสำคัญของสมอง เพื่อรับ - ส่งข้อมูล) ถ้าขาดกรดอะมิโน อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดในการส่งข้อมูลข่าวสาร การได้รับโปรตีนปริมาณสูงจะช่วยเพิ่มความว่องไวของสมองได้ชั่วคราว ในส่วนอื่นๆ สำหรับสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ กรดอะมิโนช่วยให้วิตามิน และเกลือแร่ ทำหน้าที่ได้สมบูรณ์เต็มที่ และช่วยให้ถูกดูดซึมไปใช้ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ

ที่มา: http://www.tuvayanon.net/2aminof.html

ตอบ: 3



คำอธิบาย
ดี เอ็นเอ (อังกฤษ: DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, เชื้อรา, แบคทีเรีย, ไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน

ดี เอ็นเอมีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัว ขาของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) นิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาล, ฟอสเฟต (ซึ่งประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และเบส (หรือด่าง) นิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A) , ไทมีน (thymine, T) , ไซโทซีน (cytosine, C) และกัวนีน (guanine, G) ขาของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T และ C จะเชื่อมกับ G เท่านั้น (ในกรณีของดีเอ็นเอ) และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอนั่นเอง

ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ คือ ฟรีดริช มีเชอร์ ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไร จนในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก เป็นผู้ไขความลับโครงสร้างของดีเอ็นเอ และนั่นนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ในประเทศไทย มีนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อ ดีเอ็นเอเขียนโดยวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD

ตอบ: 2